วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555



คำอธิบายรายวิชา
ศ 23201, ศ 23202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
เวลา 40 ชั่วโมง/ ปี

.....ศึกษาเรื่องทัศนธาตุและหลักการออกแบบด้วยเทคนิคที่หลากหลาย นำวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ มาสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์แบบ 3 มิติ โดยสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆได้อย่างมีคุณภาพ ถ่ายทอดความรู้สึกตามประสบการณ์และจินตนาการในรูปแบบงานศิลปะที่มุ่งเน้นความงามอย่างสร้างสรรค์ แปลกใหม่ เพื่อสามารถนำไปใช้สอยให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างน่าชื่นชม 
.....วิเคราะห์รูปแบบเนื้อหาและประเมินคุณค่างานทัศนศิลป์ของตนเองและผู้อื่น สามารถเลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม สามารถออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ กราฟิกในการนำเสนอข้อมูลอย่างมีความรู้ ใช้ทักษะที่จำเป็นด้านอาชีพที่เกี่ยวข้องกันกับงานทัศนศิลป์ รู้และเข้าใจกาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของงานทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่นแต่ละยุคสมัย เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและสามารถเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ที่มาจากยุคสมัยและวัฒนธรรมต่าง ๆ
.....มฐ. ศ 1.1 ม. 3/1-10
.....มฐ. ศ 1.2 ม. 3/1-3


......มาตรฐานการเรียนรู้สาระที่ ๑   ทัศนศิลป์
.....มาตรฐาน ศ 1.1  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


......ตัวชี้วัด
.....มฐ. ศ 1.1 ม. 3/1 บรรยายสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ที่เลือกมา โดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ
.....มฐ. ศ 1.1 ม. 3/2 ระบุ และบรรยายเทคนิค  วิธีการของศิลปินในการสร้างงาน ทัศนศิลป์
.....มฐ. ศ 1.1 ม. 3/3 วิเคราะห์ และบรรยายวิธีการใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบในการสร้างงานทัศนศิลป์ของตนเองให้มีคุณภาพ

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
                1. บอกวิธีการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์งานประติมากรรมให้ดูสวยงามได้ (K)
                2. ออกแบบชิ้นงานประติมากรรมที่มีความงามและประโยชน์ใช้สอยจากเศษวัสดุเหลือใช้(P)
                3. ชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น (A)

สาระสำคัญ
..........เศษวัสดุเหลือใช้เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำมาสร้างสรรค์งานประติมากรรมในรูปแบบต่าง ๆได้ สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุ ผสมผสานกับเทคนิควิธีและการออกแบบที่เหมาะสมกับเศษวัสดุเหลือใช้นั้น ๆ เช่น การประดิษฐ์โคมไฟจากไม้ไอศกรีม โคมไฟจากเศษกระดาษ ฯลฯ ทำให้ได้งานประติมากรรมที่มีคุณค่าราคาต้นทุนต่ำ

ความรู้  
.....สร้างความสวยด้วย เศษวัสดุเหลือใช้
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
.....การสรุปความรู้   การปฏิบัติ   การประเมินค่า   
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
.....ประหยัด
.....ใฝ่เรียนรู้   มุ่งมั่นในการทำงาน


.....นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า   เศษวัสดุเหลือใช้ เมื่อนำมาทำงานประติมากรรมแล้วจะได้ผลงานประติมากรรมในรูปแบบใหม่ที่สวยงาม ด้วยรูปทรง เส้น และสี

ชิ้นงานหรือภาระงาน(หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)
.....นักเรียนมีเทคนิคและวิธีการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์งานประติมากรรมอย่างไร
R  ผลงานการสร้างสรรค์ความงามด้วยเศษวัสดุเหลือใช้

ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding)

สาระการเรียนรู้

คำถามท้าทาย


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. นักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับ การใช้วัสดุต่าง ๆในการสร้างสรรค์งานประติมากรรม  โดยครูใช้คำถาม ดังนี้ 
R  การใช้ดินน้ำมันสร้างสรรค์งานประติมากรรมนั้นมีลักษณะเด่นอย่างไร                          (ตัวอย่างคำตอบ ง่าย, สะดวกต่อการปั้น, มีสีสรรหลากหลาย)
R  นักเรียนมีเทคนิคและวิธีการใช้ดินน้ำมันในการปั้นภาพนูนสูงอย่างไรให้เกิดความสวยงาม (นักเรียนตอบตามเทคนิคที่เรียนรู้-ประสบการณ์)
2. ครูนำชิ้นงานต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ด้วยดินน้ำมัน ดินเหนียว แป้งปั้น และกระดาษเหลือใช้ผสมกาวอย่างละ 1-2 ชิ้นงาน มาให้นักเรียนดู  จากนั้นนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามดังนี้
R  งานชิ้นใดสร้างสรรค์ด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ (นักเรียนตอบตามความเป็นจริง)
R  งานที่สร้างสรรค์ด้วยเศษวัสดุเหลือใช้มีลักษณะอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ  ลักษณะพื้นผิวแตกต่างจากวัสดุอื่น ๆเมื่อแห้งแล้วแข็งคงทนกว่าดินน้ำมัน ไม่แตกหักง่ายเหมือนดินเหนียว สามารถสร้างสีสันต่าง ๆได้)
R  นักเรียนเคยใช้เศษวัสดุเหลือใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ เคย)
R  นักเรียนชอบใช้เศษวัสดุเหลือใช้สร้างสรรค์งานของตนเองหรือไม่ เพราะอะไร (นักเรียนต, อบตามความรู้สึก)
3. ครูให้นักเรียนนำเสนอแนวความคิดและจินตนาการ โดยการออกแบบชิ้นงาน 3 แบบ ก่อนสรุปคัดเลือกแบบในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประติมากรรมจริง (ครูคอยให้คำเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อขยายกรอบความคิดของนักเรียนให้ได้ผลงานประติมากรรมที่สวยงามและใช้ประโยชน์ได้จริง)
4. นักเรียนเตรียมเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์งานประติมากรรมตามแบบที่คัดเลือก
5. นักเรียนเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างงานประติมากรรมให้เรียบร้อย
6. นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานของตนเองและนำผลงานมาวิจารณ์และชื่นชมร่วมกับเพื่อน
7นักเรียนแสดงความรู้สึกหลังจากได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมจากเศษวัสดุเหลือใช้
8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ เศษวัสดุเหลือใช้ เมื่อนำมาสร้างสรรค์งานประติมากรรมจะได้ชิ้นงานที่สวยงาม และใช้ประโยชน์ได้จริง 
9. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
R  นักเรียนมีวิธีการและเทคนิคการสร้างสรรค์งานประติมากรรมของตนเองอย่างไร



การจัดบรรยากาศเชิงบวก
สื่อการเรียนรู้
     1. ชิ้นงานตัวอย่างของจริง จากวัสดุประเภทต่าง ๆที่แตกต่างกัน (ดินเหนียว, ดินน้ำมัน, กระดาษผสมกาว ฯลฯ)
     2. เศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ
     3. กรรไกร, คัตเตอร์
     4. กาว
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.  วิธีการวัดและประเมินผล
                     R  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
                2.  เครื่องมือ
                    R  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
                3.  เกณฑ์การประเมิน
                     R  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ  ถือว่า ผ่าน 
ผ่าน 1 รายการ  ถือว่า  ไม่ผ่าน